Page 12 - Miccell Book
P. 12
ได้รับความช่วยเหลือจาก UNDP ในองค์การสหประชาชาติ
เริ่มแรกที่บริษัทได้ตั้งขึ้น และผลิตฉนวนกันความร้อน นอกจากใช้เม็ดพลาสติก
LDPE เป็นวัตถุดิบในการผลิตแล้ว บริษัทยังใช้ก๊าซ CFC-114 เป็นวัตถุดิบในการ
ผลิตด้วยตลอดมา จนกระทั่ง ประมาณกลางเดือน มิถุนายน 2536 บริษัทได้รับการ
ติดต่อจาก กองแผนงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ชักชวนให้
เข้าร่วมโรงการ ลด เลิก ละ การใช้ก๊าซ CFC-114 เพราะก๊าซ CFC-114 ก่อให้เกิด
อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไปทำาลายชั้นโอโซนในชั้นบรรยากาศ ก่อให้เกิด
ปฏิกิริยาเรือนกระจก (GREEN HOUSE EFFECT) โดยมีหน่วยงาน UNDP (UNIT-
ED NATIONS DEVELOPMENT PROGRAMME) ในองค์การสหประชาชาติ ให้
ความช่วยเหลือ ในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่างๆ เมื่อเปลี่ยนไปใช้ก๊าซชนิดอื่นๆ
ต่อมาบริษัทได้ตอบตกลงเข้าร่วมโครงการ ลด เลิก ละ การใช้ก๊าซ CFC-12
และ CFC-114 โดยมีผู้ชำานาญการมาให้คำาแนะนำา และจัดทำาโครงการยื่นต่อ UNDP
จนได้รับอนุมัติให้ความช่วยเหลือบริษัทในการเปลี่ยนก๊าซที่ใช้ในการผลิตจากก๊าซ
CFC-12 และ CFC-114 เป็นก๊าซบิวเทนเหลวแทนเป็นเงินสด 339,500 เหรียญ
สหรัฐอเมริกา และได้มีการทำาสัญญาขึ้น ภายใต้สนธิสัญญาพิธีสารมอนทรีออล (THE
MONTREAL PROTOCOL) ระหว่างรัฐบาลไทย โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม
UNDP (UNITED NATIONS DEVELOPMENT PROGRAMME) โดยมีหน่วยงาน
UNDP/OPS (UNITED NATIONS DEVELOPMENT PROGRAMME / OFFICE
FOR PROJECT SERVICES) NEW YORK U.S.A. เป็นผู้รับผิดชอบ ดำาเนินการ
ตามโรงการที่บริษัทได้รับความช่วยเหลือ จนกระทั่งโครงการได้สำาเร็จลุล่วงไปตาม
วัตถุประสงค์ และได้มีพิธีรับมอบสิทธิ์เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2542 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ
สิริกิติ์
ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียว
จากการที่บริษัทได้รับความช่วยเหลือจาก UNDP ในการลด เลิก ละ การใช้
ก๊าซ CFC-12 และ CFC-114 ได้ 100% ทำาให้ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิต ไม่ก่อให้เกิด
อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทจึงสมัครขอสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายรับรองฉลาก
เขียว จากโครงการฉลากเขียวสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ที่บริษัท
ผลิต และนำาออกจำาหน่ายซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ และเงื่อนไขของโครงการฉลาก
เขียว จนบริษัทได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฉลากเขียวกับผลิตภัณฑ์ได้ตาม
ต้องการ
ได้รับอนุญาตให้ใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทย
ผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อนของบริษัท นอกจากนำาออกจำาหน่ายในประเทศ
แล้ว ยังส่งออกขายต่างประเทศด้วย และเพื่อสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยให้ผู้ซื้อ ผู้
บริโภคทั่วโลกได้รู้ว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่มีความหลาก
หลาย และพิถีพิถันในการผลิตและให้บริการ และเพื่อให้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทยเป็น
ที่รู้จัก และนิยมของผู้นำาเข้า ผู้ซื้อ และผู้บริโภค ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ บริษัท
จึงสมัครขอใช้สัญลักษณ์ “ตราสินค้าไทย” จากสำานักพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จนได้รับใบรับรองสัญลักษณ์ตราสินค้าไทย
และใช้สัญลักษณ์ตราสินค้าไทยตลอดจนมาถึงปัจจุบัน
1