History


        ความต้องการพลังงานของโลกเพิ่มขึ้น ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งพลังงานส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ เป็นพลังงานที่ธรรมชาติสะสมมาเป็นเวลานาน และไม่สามารถเกิดทนแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น พลังงานเหล่านี้นับวันมีแต่ จะหมดไปอย่างรวดเร็ว ฉนวนความร้อนจึงถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยประหยัดพลังงานมิให้สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานได้อย่างเต็มที่

ฉนวนความร้อนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีความหลากหลายแตกต่างกันไปจำแนกตาม

(1) วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
(2) กระบวนการผลิต
(3) อุณหภูมิที่ใช้งาน
(4) ลักษณะการประยุกต์ใช้งาน
(5) อายุการใช้งาน
(6) วัตถุประสงค์

        ฉนวนแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป คุณสมบัติของความเป็นฉนวนที่ดีควรต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เป็นอันตราย ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ฉนวนความร้อนบางชนิดที่ใช้แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน เช่น ฉนวนยาง เมื่อถูกเผาไหม้จะทำให้เกิดแก๊สที่สูดดม เข้าไปในร่างกายเพียงเล็กน้อยก็เป็นอันตรายถึงชีวิต หรือฉนวนใยแก้วและฉนวนใยหิน ซึ่งเป็นฉนวนประเภทเส้นใยที่ระคายเคือง เป็นอันตรายต่อผิวหนัง ตา และระบบทางเดินหายใจ เมื่อใช้งานไประยหนึ่งเส้นใยจะหักกลายเป็นฝุ่นปนอยู่ในอากาศและถูกสูดเข้าปอด เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ช่องว่างระหว่างเส้นใยยังเป็นที่สะสมความชื้น เชื้อโรค ฝุ่นละออง ทำให้หมดสภาพความเป็นฉนวนในระยะเวลาอันสั้น

        ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมการผลิต ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ประกอบกับ ความต้องการใช้ฉนวนความร้อนในประเทศเพิ่มขึ้นตลอดเวลา คณะผู้ก่อตั้งบริษัท มิคเซล จำกัด ซึ่งเป็นคนไทยทั้งหมด ได้เล็งเห็นถึงปัญหา และความต้องการดังกล่าว จึงได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทขึ้นในปี พ.ศ.2534 โดยมีนโยบายที่จะ ผลิตฉนวนความร้อนที่จะช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างแท้จริง และในขณะเดียวกันต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ และเศษวัสดุ

        ในการนี้บริษัทได้เลือกนำวัตถุดิบประเภทโพลิเอทิลีน (Low Density Polyethylene, LDPE) มาใช้ในการผลิตฉนวนความร้อนประเภทโฟม(Foam Insulation) ที่มีโครงสร้างเป็นแบบเซลล์ปิดอย่างสมบูรณ์แบบ (100% Closed-cell Structure) และพัฒนาให้เป็นฉนวนความร้อนที่มีคุณสมบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ นั่นคือการเลือกใช้กระบวนการผลิตแบบ Non-Crosslink ซึ่งทำให้บริษัทสามารถผลิตฉนวนความร้อนที่สามารถนำไป Reues, Recycle, และ Reduce ได้จาก ทุกกระบวนการผลิต จนกระทั่ง ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ดังนั้น ในปี พ.ศ.2535 บริษัทจึงได้นำสินค้าออกวางตลาด จำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า Mic-cell และ Super-cell โดยหวังว่าจะช่วยลดการนำเข้าฉนวนความร้อน และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจจากการสูญเสีย ดุลการค้าต่างประเทศได้ในระดับหนึ่ง